วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบรวม วิชาฟิสิกส์ ม.4 พร้อมเฉลย

แบบทดสอบรวม
ชุดที่ 1
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
ชุมนุมฟิสิกส์ โดยครูจิรัชญา
ชื่อ........................................................................ชั้น.........................ห้อง...............
ตอนที่1ให้กาเครื่องหมาย ´ ลงใน  ใต้ตัวอักษร ก, ข, ค และ ง ที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียง
คำตอบเดียว ลงในกระดาษคำตอบ ( 10 คะแนน )
ผลการเรียนที่คาดหวังที่1 สำรวจตรวจสอบและอธิบายปริมาณกายภาพ ระบบหน่วยระหว่างชาติ
และการบันทึกปริมาณที่มีค่ามากหรือน้อย
1. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาจากการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ
2. น้ำตาลทรายขาวมีรสหวานกว่าน้ำตาลทรายแดงเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ
3. นักเรียนเดินทางจากบ้านถึงโรงเรียนใช้เวลา 20 นาทีข้อมูลเชิงปริมาณ
คำตอบที่ถูก คือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 2 และ 3
2. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. มวล เวลา ความยาว เป็นปริมาณฐานทั้งหมด
2. ความเร็ว ความถี่ อุณหภูมิ เป็นปริมาณฐานทั้งหมด
3. ความเร่ง ความดัน พลังงาน เป็นปริมาณอนุพัทธ์ทั้งหมด
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 2 และ 3
3. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. ต้องการวัดความกว้างของหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ควรใช้สายวัด เป็นเครื่องมือวัด
2. มวล ความยาว อุณหภูมิ เป็นปริมาณสเกลาร์
3. ระบบหน่วยระหว่างชาติ( หน่วยเอสไอ ) ได้กำหนดหน่วยของมวล คือ กิโลกรัม
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 2 และ 3
4. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. ปริมาณ 15,000,000 เมตร ในรูปเลขยกกำลังได้คือ 1.50 x 105 เมตร
2. น้ำหนัก 82 นิวตัน มีค่าเท่ากับ 8.2 x 107 มิลลินิวตัน
3. ปริมาตร 35 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ 3.5 x 10-5 ลูกบาศก์เมตร
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 2 และ 3
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
ผลการเรียนที่คาดหวังที่2 สำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การ
เคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามโน้มถ่วง สนามแม่เหล็ก และสนามไฟฟ้า รวมทั้งการนำไปใช้
ประโยชน์
5. วัตถุที่วางอยู่นิ่งกับที่หรือ วัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ แสดงว่า
ก. ไม่มีแรงกระทำต่อวัตถุเลย ข. วัตถุนั้นมีแรงกระทำแต่แรงต้านมากกว่า
ค. วัตถุนั้นมีแรงกระทำและแรงต้านเท่ากัน ง. ข้อ ก และ ข้อ ข ถูก
6. วัตถุที่มีการเคลื่อนที่เปลี่ยนไป แสดงว่า
1. มีแรงมากระทำและไม่มีแรงต้าน
2. มีแรงมากระทำและมีแรงต้านขนาดเท่ากันที่ไม่อยู่ในแนวเดียวกันกับแรงที่มากระทำ
3. มีแรงมากระทำและมีแรงต้านมากว่า
ข้อที่ถูกต้อง คือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
7. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. ลูกบอลที่กำลังกลิ้งไปบนพื้น มันสามารถหยุดได้เอง เพราะแรงที่โลกดึงดูดลูกบอล
2. ในขณะที่เรานั่งอยู่บนเก้าอี้จะมีแรงโน้มถ่วงของโลกกระทำต่อตัวเรา
3. แรงเนื่องจากสนามไฟฟ้า จะมีค่าเป็นศูนย์เมื่ออนุภาคที่ไม่มีประจุไฟฟ้าอยู่ในบริเวณที่สนามไฟฟ้า
ข้อที่ถูกต้อง คือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
8. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. แรงเนื่องจากสนามแม่เหล็ก จะเกิดขึ้นกับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เมื่อเคลื่อนที่ผ่าน
สนามแม่เหล็กในแนวตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก
2. แรงเนื่องจากสนามโน้มถ่วง จะเกิดกับอนุภาคที่มีประจุหรือไม่มีประจุไฟฟ้า เมื่ออยู่ในสนาม
โน้มถ่วงนั้น
3. แรงเนื่องจากสนามโน้มถ่วง สนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก จะเกิดได้2 ชนิด คือ แรงผลัก
และแรงดูด
ข้อที่ถูกต้อง คือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
ผลการเรียนที่คาดหวังที่3 สำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายแรงยึดเหนี่ยวในเคลียสและ
แรงอนุภาค
9. ในปัจจุบันนักฟิสิกส์ได้ตั้งทฤษฎีที่เรียกว่าThe Standard Model ขึ้นเพื่ออธิบายลักษณะของ
อนุภาคและปฏิสัมพันธ์ของอนุภาคเหล่านั้นในรูปแบบอนุภาคมูลฐาน ( Fundamental particles ) โดย
แบ่งอนุภาคมูลฐานได้2 ชนิด คือ
ก. อนุภาคสสาร และ อนุภาคนำพาแรง ข. อนุภาคมีประจุไฟฟ้า และอนุภาคไม่มีประจุไฟฟ้า
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
ค. อนุภาคแม่เหล็ก และ อนุภาคไฟฟ้า ง. อนุภาคสสาร และ อนุภาคนิวเคลียร์
10. ในปัจจุบันนักฟิสิกส์ได้ตั้งทฤษฎีที่เรียกว่าThe Standard Model ขึ้นเพื่ออธิบายลักษณะของ
อนุภาคและปฏิสัมพันธ์ของอนุภาคเหล่านั้นในรูปแบบอนุภาคมูลฐาน ( Fundamental particles ) โดย
แบ่งแรงมูลฐาน (Fundamental Forces ) เป็น 4 ชนิด คือ
ก. แรงดูด แรงผลัก แรงเหนี่ยวนำและแรงเสียดทาน
ข. แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้า และแรงนิวเคลียร์
ค. แรงสู่ศูนย์กลาง แรงเสียดทาน แรงไฟฟ้า และแรงแม่เหล็ก
ง. แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์ชนิดอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม
11. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. แรงโน้มถ่วง หรือแรงดึงดูดระหว่างมวล เชื่อว่าเกิดจาการนำพาแรง ของอนุภาคนำพาแรง คือ
กราวิตอน
2. ควาร์ก และ เลปตอน เป็นอนุภาคสสาร และแรงที่เกิดขึ้นทั้ง 4 ชนิด เป็นผลจากอนุภาคเหล่านี้
3. ควาร์ก และ เลปตอน เป็นอนุภาคสสาร ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขนาดของสสารและประจุไฟฟ้า
ของอนุภาด
ข้อที่ถูกต้อง คือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
12. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. แรงผลักและแรงดูด ที่เกิดจาก แรงระหว่างประจุไฟฟ้า หรือ แรงระหว่างขั้วแม่เหล็ก ถือว่า
เป็น แรงหนึ่งใน 4 แรงมูลฐาน
2. แรงนิวเคลียร์ชนิดอ่อน จะเกี่ยวข้องกับการแผ่กัมมันตภาพรังสีโดยการนำพาแรงของอนุภาค
ที่เรียกว่า โบซอน
3. แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวควาร์กภายในโปรตอนและนิวตรอน และยึดจับ
โปรตอนและนิวตรอนภายในนิวเคลียสของอะตอม ข้อที่ถูกต้อง คือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
ผลการเรียนที่คาดหวังที่4 ทดลอง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัด เวลา ความเร็ว
ความเร่งของการเคลื่อนที่ในแนวตรงและคำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้องได้
จากรูป ใช้ตอบคำถามข้อ 13 – 14
เป็นแนวการเคลื่อนที่ของ นายแดง จากเมือง ก. ไปยังเมือง ข . เป็นแนว
ครึ่งวงกลม โดยมีรัศมีการเคลื่อนที่14 กิโลเมตร
13. จงหาระยะทางที่เคลื่อนที่ได้จากเมือง ก. ไปยังเมือง ข. เป็นกี่กิโลเมตร
ก. 7 ข. 14 ค. 28 ง. 44
เมือง ก. เมือง ข.
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
14. จงหาการกระจัดที่ได้จากเมือง ก. ไปยังเมือง ข. เป็นกี่กิโลเมตร
ก. 7 ข. 14 ค. 28 ง. 44
จากภาพ ใช้ตอบคำถาม ข้อ 15 – 16 เป็นการเคลื่อนที่ของ
A , B และ C ใช้เวลา 320 วินาทีเท่ากัน ถ้าการเคลื่อนที่
ของ A ได้ระยะทาง 150 เมตร การเคลื่อนที่ของB ได้
ระยะทาง 400 เมตร การเคลื่อนที่ของC ได้ระยะทาง
500 เมตร
15. จงหาอัตราเร็วของB เป็นกี่เมตรต่อวินาที
ก. 0.469 ข. 1.25 ค. 1.563 ง. 3.281
16. จงหาความเร็วของC เป็นกี่เมตรต่อวินาที
ก. 0.469 ข. 1.25 ค. 1.563 ง. 3.281
ผลการเรียนที่คาดหวังที่5 สำรวจตรวจสอบ และอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
แบบวงกลม แบบโพรเจกไทล์รวมทั้งการนำมาใช้ประโยชน์
17. การเคลื่อนที่ในลักษณะใด เป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิคอย่างง่าย
ก. เป็นการเคลื่อนที่แบบธรรมดา ข. เป็นการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาด้วยอัตราเร็วคงตัว
ค. เป็นการเคลื่อนที่ขึ้นลงด้วยอัตราเร็วคงตัว ง. เป็นการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาด้วยความเร่ง
18. ข้อใดเกี่ยวกับลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิคอย่างง่าย
ก. ความเร่งและการกระจัดอยู่ในทิศเดียวกัน ข.วัตถุมีความเร่งมากเมื่อมีการกระจัดน้อยที่สุด
ค. ตรงตำแหน่งสมดุล วัตถุมีความเร่งสูงสุด ง. ตรงตำแหน่งที่มีความเร็วสูงสุด การกระจัดเป็นศูนย์
19. การที่จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมได้นั้น สิ่งที่จำเป็นที่ต้องให้แก่วัตถุคือ
ก. แรงเสียดทาน ข. แรงโน้มถ่วง
ค. แรงที่ตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุตลอดเวลา ง. แรงเริ่มต้น
20. การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์มีลักษณะการเคลื่อนที่เป็นอย่างไร
ก. มีลักษณะการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งที่มีความเร็วคงตัว
ข. มีลักษณะการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งที่มีความเร่งคงตัวทั้งสองแกน
ค. มีลักษณะการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งแบบพาราโบลา
ง. มีลักษณะการเคลื่อนที่ที่มีความเร่งคงตัวในแนวระดับ
A
B
C
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
รายวิชาแรง การเคลื่อนที่และพลังงาน เฉลยแบบทดสอบ
กลางภาค รหัสวิชา ว 41101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4
เฉลยแบบทดสอบ
กลางภาค
ข้อ คำตอบ
1 ง
2 ค
3 ข
4 ข
5 ค
6 ง
7 ข
8 ก
9 ก
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
10 ง
11 ค
12 ข
13 ง
14 ค
15 ข
16 ก
17 ง
18 ง
19 ค
20 ค
แบบทดสอบชุดที่ 2
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
ชื่อ.........................................................................ชั้น................เลขที่.................
ให้กาเครื่องหมาย ´ ลงใน  ใต้ตัวอักษร ก, ข, ค และ ง ที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
ลงในกระดาษคำตอบ
ผลการเรียนที่คาดหวังที่6 สำรวจตรวจสอบ และอธิบายสมบัติของคลื่นกลและความสัมพันธ์ระหว่าง
ความถี่ความยาวคลื่น อัตราเร็ว
1. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. ขณะที่เราเห็นคลื่นกำลังเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิด สิ่งที่เคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่นคือตัวกลาง
2. คลื่นบนผิวน้ำคือคลื่นกล และเป็นคลื่นตามขวาง
3. คลื่นเสียง คือคลื่นกล และเป็นคลื่นตามยาว
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 3 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 2 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
2. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. คลื่นตามยาวและคลื่นตามขวาง มีสิ่งที่ต่างกัน คือทิศการสั่นของอนุภาคตัวกลาง
2. ระยะตั้งฉากจากแนวสมดุลไปถึงสันคลื่นหรือท้องคลื่น เรียกว่า แอมพลิจูด
3. ระยะระหว่างสันคลื่นที่อยู่ถัดกัน หรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน คือ การกระจัดของคลื่น
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
3. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
1. ปรากฏการณ์ที่คลื่นเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่กลับสู่ตัวกลางเดิม เมื่อคลื่นนั้นเคลื่อนที่ไป
กระทบสิ่งกีดขวาง คือ การสะท้อน
2. เมื่อใช้นิ้วมือแตะลงบนผิวน้ำหนึ่งครั้ง คลื่นที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นคลื่นดลเส้นตรง
3. อัตราเร็วคลื่นหมายถึงผลคูณระหว่างความยาวคลื่นกับความถี่คลื่น
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
4. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. การหักเหเป็นคุณสมบัติหนึ่งของคลื่น สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ ความถี่ของคลื่น
2. เมื่อคลื่นน้ำสองขบวน เคลื่อนที่มาพบกัน จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การสะท้อนของ
คลื่น
3. เมื่อคลื่นน้ำหน้าตรงเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง จะมีคลื่นบางส่วนแผ่จากขอบของสิ่งกีด
ขวางไป ทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น ซึ่งเรียกว่า การหักเหของคลื่น
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 เท่านั้น ข. ข้อ 2 เท่านั้น ค. ข้อ 3 เท่านั้น ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
ผลการเรียนที่คาดหวังที่7 สำรวจตรวจสอบ และอธิบายการเกิดคลื่นเสียง ความเข้มของเสียง การได้
ยินเสียง คุณภาพของเสียง มลภาวะของเสียง ที่มีผลต่อสุขภาพและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
5. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. ขณะที่ดีดสายกีตาร์ จะทำให้ได้ยินเสียง สามารถอธิบายปรากฎการณ์นี้ได้ว่า เสียงที่เราได้ยิน
เกิดจากการสั่นของสายกีตาร์
2. คลื่นเสียงไม่สามารถผ่าน สุญญากาศ แต่สามรถผ่านเหล็กได้ดีกว่าไม้
3. คลื่นเสียงกับคลื่นผิวน้ำมีสิ่งแตกต่างกันเสมอ คือ ความยาวคลื่น
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
6. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. การอัดและการขยายจะพบในคลื่นแสง เพราะคลื่นแสงเป็นคลื่นตามขวาง
2. ขณะที่คลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านอากาศ อนุภาคของอากาศเกิดการขยายตัวและการอัดตัว
สลับกันไป
3. ขณะที่คลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านอากาศ ตัวกลางของส่วนอัดและส่วนขยาย อนุภาคของอากาศ
มีการกระจัดเป็นศูนย์
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
7. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. การที่คนเราจะได้ยินเสียงใดได้นั้นจะมีองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ตัวกลางส่งผ่านเสียง
2. ตัวบอกความดังของเสียง คือ ระดับเสียง
3. ตัวบอกความดังของเสียง คือ ระดับความเข้มของเสียง
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 3 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 2 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
8. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. ระดับเสียงขึ้นอยู่กับ ความถี่เสียง
2. สิ่งที่ช่วยให้เราแยกประเภทของแหล่งกำเนิดเสียง คือ คุณภาพของเสียง
3. ความเข้มเสียงที่เบาที่สุดที่หูของคนปกติเริ่มได้ยินมีค่า 10-12 วัตต์/ตารางเมตร
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 3 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 2 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
ผลการเรียนที่คาดหวังที่8 สืบค้นข้อมูล และอธิบายสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้ง
ประโยชน์และอันตรายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
9. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือคลื่นกล เพราะเกิดจากการเหนี่ยวนำอย่างต่อเนื่องของสนามแม่เหล็ก
และ สนามไฟฟ้า
2.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นตามยาวเช่นเดียวกับคลื่นเสียง
3.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลาง
คำตอบข้อใดถูก
ก. ข้อ 1 เท่านั้น ข. ข้อ 2 เท่านั้น ค. ข้อ 3 เท่านั้น ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
10. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. คลื่นแสง เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2. แนวคิดที่สำคัญอย่างหนึ่งของแมกซ์เวลล์เกี่ยวกับทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือเมื่อ
สนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลง จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้าขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้าขึ้น และสนามไฟฟ้าจะ
เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบริเวณนั้นเป็น ตัวนำเท่านั้น
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
11. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. รังสีอินฟราเรด มีความยาวคลื่น ยาวกว่า รังสีอัลตราไวโอเลต
2. คลื่นวิทยุสามารถตรวจจับได้ด้วยจักษุสัมผัส
3. คลื่นวิทยุสามารถสะท้อนได้ที่บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์
คำตอบข้อใดถูก
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
12. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. คำสั่งจากรีโมทคอนโทรล เพื่อเปิด - ปิด หรือเปลี่ยนสถานีโทรทัศน์ใช้รังสีแกมมาเป็นตัวนำ
2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดมีสมบัติเหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ มีความเร็วเท่ากัน
3. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ประโยชน์ในการถนอมอาหาร คือ รังสีแกมมา
คำตอบข้อใดถูก
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
ผลการเรียนที่คาดหวังที่9 สำรวจตรวจสอบ สืบค้นข้อมูล และอธิบายการเกิดกัมมันตภาพรังสี
การนำมาใช้ประโยชน์ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตแลสิ่งแวดล้อม
13. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบกัมมันตภาพรังสีเป็นคนแรก คือ เบกเคอเรล
2. กัมมันตภาพรังสี คือปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เอง
3. กัมมันตภาพรังสี คือชื่อเรียกธาตุที่สามารถแผ่รังสีได้เอง
คำตอบข้อใดถูก
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
14. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. รังสีแอลฟา เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และ
นิวตรอน 2 อนุภาค
2. รังสีบีตา เป็นอิเล็กตรอน มีมวลน้อยมาก ไม่มีปะจุไฟฟ้า
3. รังสีแกมมา เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่มีปะจุไฟฟ้า
คำตอบข้อใดถูก
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
15. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. รังสีที่มีอำนาจทะลุผ่านสูงที่สุดเรียงตามลำดับ ดังนี้แอลฟา บีตา แกมมา
2. รังสีที่ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็ก คือ รังสีแกมมา
3. รังสีที่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็ก คือ แอลฟา บีตา
คำตอบข้อใดถูก
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
16. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. เลขมวล ของธาตุ หมายถึงผลรวมของจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนในนิวเคลียส
2. เลขอะตอม ของธาตุ หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุ
คำตอบข้อใดถูก
ก. ข้อ 1 เท่านั้น ข. ข้อ 2 เท่านั้น ค. ถูกทั้งสองข้อ ง. ผิดทั้งสองข้อ
ผลการเรียนที่คาดหวังที่10 สืบค้นข้อมูล และอธิบายปฏิกิริยานิวเคลียร์ ฟิวชัน และฟิชชัน
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน การนำประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
17. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. สัญลักษณ์นิวเคลียสของธาตุ X เขียนแทนด้วย 152 X
64 อะตอมของตะกั่วมีโปรตอน
นิวตรอนและอิเล็กตรอน ตามลำดับคือ 64 88 64
2. สัญลักษณ์นิวเคลียสของ X – 32 เลข 32 หมายถึง ผลรวมของจำนวนโปรตอนและ
นิวตรอนในนิวเคลียส
คำตอบข้อใดถูก
ก. ข้อ 1 เท่านั้น ข. ข้อ 2 เท่านั้น ค. ถูกทั้งสองข้อ ง. ผิดทั้งสองข้อ
18. เมื่อนิวเคลียสของ 236 U
90 สลายตัวให้อนุภาคแอลฟา นิวเคลียสของธาตุใหม่จะมีเลขมวลและ
เลขอะตอมเป็นเท่าใดตามลำดับ
ก. 90 , 236 ข. 236 , 90 ค. 88 , 232 ง. 232 , 88
19. จากสมการ Pb 214 Bi
83
241
82 ® + A อยากทราบว่า A คืออะไร
ก. อนุภาคบีตา ข. อนุภาคแกมมา ค. อนุภาคแอลฟา ง. นิวเคลียสของธาตุใหม่
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
20. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. รังสีที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง คือ รังสีแกมมา
2. ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น จะเกิดขึ้นจากนิวตรอนชนกับนิวเคลียสของธาตุหนัก
3. ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น จะเกิดขึ้นธาตุหนักรวมตัวกับธาตุเบา
คำตอบข้อใดถูก
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3 ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา
รายวิชาแรง การเคลื่อนที่และพลังงาน เฉลยแบบทดสอบ
ปลายภาค รหัสวิชา ว 41101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4
เฉลยแบบทดสอบ
ข้อ คำตอบ
1 ข
2 ก
3 ค
4 ก
5 ก
6 ข
7 ก
8 ง
9 ค
10 ก
11 ค
12 ข
13 ก
14 ค
15 ข
16 ข
17 ค
18 ง
19 ก
20 ก
ญา
ชื่อแฟ้ม: 07แผน นิเทศ - ทดสอบรวม
เรกทอรี: D:\ชุมนุมฟิสิกส์
แม่แบบ: C:\Documents and Settings\Administrator\Application
Data\Microsoft\Templates\Normal.dotm
ชื่อเรื่อง: คำนำ
เรื่อง:
ผู้สร้าง: Rio&Umi 4ever together
คำสำคัญ:
ข้อคิดเห็น:
วันที่สร้าง: 17/04/47 17:39:00
จำนวนการเปลี่ยนแปลง: 20
บันทึกล่าสุดเมื่อ: 08/11/54 3:36:00
บันทึกล่าสุดโดย: Puter
เวลาในการแก้ไขทั้งหมด: 69 นาที
พิมพ์ครั้งสุดท้ายเมื่อ: 08/11/54 3:57:00
เป็นงานพิมพ์ที่เสร็จสิ้นชิ้นสุดท้าย
จำนวนหน้า: 14
จำนวนคำ: 2,213 (ประมาณ)
จำนวนอักขระ: 12,618 (ประมาณ)
เฉพาะชุมนุมฟิสิกส์ ครูจิรัชญา

ข้อสอบเรื่องเสียง พร้อมเฉลย